วันจันทร์, มิถุนายน 23, 2551

เรื่องเล่า ชมรมจักรยานในอดีต






มหาวิทยาลัยขอนแก่น กระตุ้นนักศึกษาใช้จักรยาน ด้วยการจัดสร้างเส้นทางจักรยานเชื่อมต่ออาคารเรียน ตั้งโชว์รูมจักรยานครบวงจร และตั้งชมรมจักรยาน หวังลดใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
ผศ.วิชัย ณีรัตนพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในฐานะหัวหน้าโครงการใช้จักรยานเพื่อการประหยัดพลังงานในโครงการมหาวิทยาลัยรวมพลังหาร 2 โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ทางสถาบันได้มีการส่งเสริมและรณรงค์ให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่หันมาใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัวในบริเวณมหาวิทยาลัย ด้วยการอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น สร้างที่จอดจักรยาน และสร้างทางจักรยานเชื่อมต่อภายใมหาวิทยาลัย โดยได้จัดทำเส้นทางจักรยานริมไหล่ทางเชื่อมต่อระหว่างอาคารเรียนจำนวน 3 เส้นทาง ความยาว 652 เมตร พร้อมปรับเส้นทางขึ้น-ลงจากเดิมที่เป็นขั้นบันได ให้เป็นทางลาด พร้อมการตีเส้นจราจรและป้ายบอก เพื่อช่วยให้นักศึกษามีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น โดยใช้งบประมาณรวม 1.3 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงและโชว์รูมจักรยานครบวงจร เปิดบริการซ่อมจักรยาน จำหน่ายและให้เช่าจักรยาน ในโครงการใช้จักรยานเพื่อประหยัดพลังงาน ให้คำปรึกษาการใช้จักรยานเสือภูเขาและจักรยานทั่วไป และเป็นสถานที่ตั้งของชมรมจักรยาน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม
ผศ.วิชัย กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันบุคลากรในสถาบันมีความตื่นตัวมากขึ้นในการใช้จักรยาน โดยเฉพาะโครงการเช่ายืมเพื่อการออกกำลังกาย มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เชื่อว่าเมื่อเส้นทางจักรยานดำเนินการครบทุกเส้นทาง จะมีการใช้จักรยานเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัย และเส้นทางหลายส่วนทำให้การเดินทางไปยังอาคารเรียนใช้เวลาน้อยลง มีความสะดวกมีสถานที่จอดเป็นสัดส่วน โดยโครงการฯ มีระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 มิถุนายน 2548 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนการใช้จักรยานให้ได้อย่างน้อย 2,000 คัน โดยปัจจุบันสามารถเพิ่มยอดการใช้จักรยานแล้วประมาณ 1,980 คัน ซึ่งเท่ากับลดการใช้น้ำมันไปได้ไม่ต่ำกว่า 891 ลิตร คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ประมาณ 17,820 บาท คาดว่าเมื่อจบโครงการ สามารถเพิ่มจำนวนการใช้จักรยานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
นายศุภชัย พลสมัคร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานชมรมจักรยาน ในโครงการมหาวิทยาลัยรวมพลังหาร 2 มข. กล่าวว่า ชมรมจักรยานก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 เพื่อสนับสนุนนโยบายการลดการใช้พลังงานในโครงการมหาวิทยาลัยรวมพลังหาร 2 โดยมีเป้าหมายในการขยายกลุ่มสมาชิก และดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยที่ผ่านมา ได้จัดกิจกรรมหลากหลาย เช่น ทำสาธารณกุศลในกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพตอนเย็น รวมถึงกิจกรรมดูนกและศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น และในปี 2548 นี้ ทางชมรมฯ มีแผนงานที่จะดำเนินการจดทะเบียนจักรยานในมหาวิทยาลัย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและส่งเสริมการใช้จักรยานต่อไป
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 โทร. 0-2612-1555 ต่อ 201-5 โทรสาร 0-2612-1368
121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ttp://www.eppo.go.th/


ผู้ให้การสนับสนุน

PMB Bike Shop ข้างปั้ม ปตท. มข.

เรื่องเล่าในอดีต EN + AG หาอ่านได้ยาก

มข.สร้างทาง 2 ล้อหนุนประหยัดน้ำมัน

ภาสกร เตือประโคน อายุ 21 ปี คณะเกษตรศาสตร์ อุปนายกกลุ่มงานบริหาร องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เล่าถึงผลสำเร็จของโครงการใช้รถจักรยานเพื่อการประหยัดพลังงาน หนึ่งในโครงการรวมพลังหารสองของมหาวิทยาลัยว่า ทางมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเพราะมองเห็นว่าการประหยัดไฟทำได้ยากจึงเลือกที่จะประหยัดน้ำมัน โดยรณรงค์ให้หันมาใช้จักรยานแทน
ในช่วงแรกเริ่มโครงการมีอุปสรรคพอสมควร เพราะโดยทั่วไปนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ อีกอย่างภูมิทัศน์ภายในเขตการศึกษาบางช่วงเป็นเนิน ทางลาดสูงชัน ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงร่วมกับบริษัทเอกชนเปิดร้านขายจักรยานบริการให้ซื้อได้ในราคาถูกลง สามารถผ่อนส่งได้ ทำให้นักศึกษาหันมาให้ความสำคัญกับโครงการประหยัดพลังงานและใช้รถจักรยานเพิ่มมากขึ้น
กล่าวคือ มียอดการใช้จักรยานประมาณ 1,980 คัน ซึ่งเท่ากับลดการใช้น้ำมันไปได้ไม่ต่ำกว่า 891 ลิตร คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ประมาณ 17,820 บาท ตอนนี้จึงดำเนินการปรับปรุงสร้างเส้นทางจักรยานและเพิ่มเส้นทางให้ครอบคลุมมหาวิทยาลัย
“ส่วนตัวผมเดิมใช้รถมอเตอร์ไซค์ ค่าใช้จ่าย เติมน้ำมันบ่อยมาก 2 อาทิตย์เติม 3 ครั้ง พอเปลี่ยนมาใช้จักรยาน ทำให้ประหยัดเติมอาทิตย์ละครั้ง บางครั้ง 2 อาทิตย์เติมครั้ง ถือว่าช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน เสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ขี่จักรยานไม่เชย ทุกวันนี้หันมามองคนที่มีจักรยานว่าน่ารัก ปั่นไปเรียนด้วยกันจอดด้วยกัน สร้างค่านิยมขึ้นมาใหม่”ภาสกรบอกเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เกษตรศาสตร์ ตำนานจักรยานในมหาวิทยาลัย

หากเอ่ยถึงการใช้รถจักรยานภายในมหาวิทยาลัย ชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นชื่ออันดับต้นๆ ที่ทุกคนนึกถึงการเริ่มใช้รถจักรยานภายในมหาวิทยาลัยมีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย และยังคงเป็นที่นิยมของบรรดาบุคลากรและนักศึกษากระทั่งถึงปัจจุบัน
การใช้จักรยานมีมานาน จนเกิดเป็นตำนานเล่าต่อกันมาว่าถึงเส้นทางรัก Loving way ถนนเล็กๆระหว่างคณะเกษตรกับสวนสุวรรณวาจกสิกิจ บรรดานักศึกษาเล่าต่อกันมาว่าหญิงสาวคนใดได้ซ้อนท้ายรถจักรยานผู้ชายผ่านเส้นทางนี้จะได้เป็นแฟนกันทุกคู่ บ้างก็ว่าจะรักกันยั่งยืน ด้วยถนนสายนี้สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นสน หลังคลองมีต้นชมพูพันทิพย์ พอถึงช่วงหน้าหนาวใบของต้นชมพูพันทิพย์จะร่วงเต็มถนน กลายเป็นถนนสีชมพูทั้งเส้น
“การใช้รถจักรยานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมานาน วันปฐมนิเทศช่วงเปิดเทอม อาจารย์จะเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนเราใช้จักรยานกัน เด็กเกษตรต้องคู่กับจักรยาน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีอายุครบรอบปีที่ 60 ยังใช้จักรยานอยู่ ทางมหาวิทยาลัยพยายามรณรงค์ให้ใช้รถจักรยานมากขึ้น เพื่อคงรูปลักษณ์มหาวิทยาลัย ถ้าคนรู้จักเกษตรศาสตร์จะมองว่าเป็นเด็กติดดิน ขี่จักรยานตลอด”
อ้อย – เยาวลักษณ์ ตรีสง่า บัณฑิตคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อายุ 22 ปี เล่าย้อนวันวานที่เคยใช้ชีวิตในรั้วนนทรี เคยทำงานคลุกคลีในสโมสรนักศึกษาคณะประมงให้ฟังต่อไปว่า
“ก่อตั้งแรกเริ่มมีเพียงไม่กี่คณะ ตึกเรียนอยู่ห่างไกลกัน ระหว่างตึกเรียนเต็มไปด้วยพรรณไม้ เน้นการเกษตรเป็นหลัก รถจักรยานจึงสะดวกต่อการเดินทาง หลังๆ มีการสร้างตึกเรียนคณะต่างๆ เพิ่มขึ้น เวลาผ่านไปเทคโนโลยีมากขึ้น จำนวนรถมอเตอร์ไซค์มากกว่าเดิม”
“ใช้ตั้งแต่ปี 1- ปี 4 ส่วนตัวคิดว่าเพราะสะดวก สบายดี เหนื่อยแต่ได้ออกกำลังกาย ไม่ต้องเสียเวลารอรถ ไม่ต้องเสียเงินค่ารถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และไม่ต้องเสียเวลารอรถตะไล (รถเมล์เล็กให้บริการภายในมหาวิทยาลัย) ส่วนใหญ่คนที่ใช้คือนักศึกษาที่พักอยู่หอในมหาวิทยาลัย และกลุ่มที่ได้รับการปลูกฝังจากรุ่นพี่ อีกอย่างพื้นที่จอดรถยนต์ไม่เพียงพอ ขับรถยนต์มาเรียนแล้วจอดทิ้งไว้ ช่วงเวลาเดินทางภายในมหาวิทยาลัยโดยอาศัยซ้อนท้ายจักรยานเพื่อน ดีกว่าเสียเวลาหาที่จอดรถยนต์ทำให้เข้าเรียนช้า”
“ใช้จักรยานไม่ค่อยมีปัญหา ช่วงหนึ่งเคยมีปัญหาจักรยานหายบ่อย จนต้องมีมาตรการเข้มขึ้นเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยกลับมาใช้จักรยาน ช่วยกันประหยัดน้ำมันและพลังงานเหมือนเกษตรฯ เคยเป็นในสมัยก่อน ดูเป็นลูกทุ่งๆ เมื่อก่อนไม่มีที่ล็อกล้อสำหรับจักรยาน ไม่มียามเฝ้า เดี๋ยวนี้มีที่ล็อกล้อและยามเฝ้าดูแล นักศึกษาหันมาใช้กันมากขึ้น เดี๋ยวนี้ก็ยังมีให้เห็น จอดเต็ม ส่วนมากจักรยานที่ใช้ไม่เน้นของใหม่ ออกแนวผู้หญิงๆ ดูเก่าๆ ไม่ต้องเสี่ยงกับการสูญหายถูกขโมย”
มองการขี่จักรยานในยุคเทคโนโลยี “ไม่มีเชย เด็กคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หน้าตาน่ารักๆก็นิยมใช้จักรยานกันเยอะแยะ ไม่มีเขินอายสายตาสาวๆ”

อ้อยทิ้งท้ายว่า เท่าที่สำเร็จการศึกษามา 1 ปี มีโอกาสกลับไปที่เกษตรฯ ก็ยังมีเด็กใช้เหมือนเดิม แนวโน้มคิดว่ายังคงมีคนใช้รถจักรยานอยู่บ้าง แม้จะไม่มากเท่าสมัยก่อน
ด้านหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ เด็กหนุ่ม 5-6 คนกำลังรุมล้อมจักรยานโบราณด้วยความชื่นชม ก่อนที่หนึ่งในนั้นจะขี่โฉบเฉี่ยวออกไปนอกคณะอย่างมั่นใจ ผ่านป้ายตั้งปิดทางเข้าประกาศห้ามไม่ให้รถจักรยานยนต์ทุกชนิดเข้าตึกเรียน ฝั่งตรงข้ามแม้จะเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทว่ายังมีเด็กหนุ่มสาวยืนรอรถตะไลหรือรถเมล์ภายในมหาวิทยาลัยให้เห็นบ้างประปราย

“รถมอเตอร์ไซค์ห้ามเข้าเขตการเรียนการสอน เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเปิดให้วิ่งเข้าเขตการเรียนการสอนได้ แล้วเกิดอุบัติเหตุ วินมอเตอร์ไซด์ข้างนอกวิ่งความเร็วไม่จำกัด อุบัติเหตุเกิดบ่อย จึงออกกฎห้ามไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกชนิด” สฤษฎ์ เหลืองวรกุล หรือ อุ้ย นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ อายุ 22 ปี เจ้าของรถจักรยานสีฟ้าลักษณะกลางเก่ากลางใหม่ ปั่นจักรยานจากหอพักนอกมหาวิทยาลัยเพื่อนำงานเข้ามาส่งที่คณะเล่าให้ฟัง

“ช่วงปี 1 – ปี 2 เปลี่ยนคาบเรียนระหว่างศูนย์เรียนรวมและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เวลาเดิน 5-10 นาที ใช้จักรยานบ่อย พอขึ้นปี 3 เรียนภายในคณะมากขึ้นจึงไม่ค่อยได้ใช้ ใช้บ้างเวลาไปทานข้าว”

อุ้ยบอกว่าน้าของเขาซึ่งเคยเป็นศิษย์เก่ารั้วเดียวกันเล่าบรรยากาศเมื่อ 10 กว่าปีให้ฟังว่า ทุกคนใช้จักรยานกันหมด เป็นมหาวิทยาลัยจักรยาน ตอนนี้เริ่มเปลี่ยน ตั้งแต่เข้ามาเรียน เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ใช้รถยนต์กันมากขึ้น จักรยานน้อยลง แต่ว่า 2 ปีก่อน เพื่อนขับรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถจักรยาน ต้องรอจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะเอารถออกมาได้ เพราะเจอรถจักรยานล็อกล้อจอดปิดทาง แสดงว่าการใช้รถจักรยานก็น่าจะเป็นที่นิยมอยู่ไม่เสื่อมคลาย

“ข้อดีจอดที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องหาที่จอดรถยาก รถจักรยานราคาไม่แพงมาก หากหายไปก็ไม่เสียดายรถมอเตอร์ไซด์เวลาออกตัวแรงเยอะกว่า แต่รถจักรยานประหยัดพลังงาน สะดวกปลอดภัยกว่า ไม่มีอะไรน่าอาย ใช้รถจักรยานดีออก ผมว่าคลาสสิคดี เหมือนเป็นการย้อนยุค แบบสมัยก่อน”

ส่วน กมล เทอำรุง นักศึกษาคณะวนศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 อายุ 22 ปีบอกว่า “ผมอยู่หอนอก แต่ใช้รถจักรยานมาตั้งแต่ปี 1 จนถึงปี 4 สะดวกดี ช่วงเปลี่ยนคาบเรียนและช่วงเช้า จะเห็นรถจักรยานเป็นแถว แต่บางครั้งรู้สึกไม่ปลอดภัย จักรยานบางครั้งโดนรถใหญ่เบียด หรือเห็นว่าเราขี่ช้าก็บีบแตรไล่ก็มี”

เช่นเดียวกับ สถิต ภู่สอน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อายุ 22 ปี ที่เล่าให้ฟังว่า “ใช้มาตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาเปลี่ยนจักรยานไปแล้วหนึ่งคัน คันแรกหาย คันนี้เป็นคันที่สอง แต่ไม่ได้ซื้อเป็นของรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วยกให้ ใช้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งเรียนจบ ปั่นไปรับไปส่งแฟนสาวหอนอก เช้าๆ ไปรับมาเรียน สะดวกดี เวลาไปเรียนปั่นจากหอพักมาเรียนที่คณะ แรกๆ ใช้วิธีเดินเรียน รู้สึกว่าไม่ได้ตามต้องการทำให้เข้าเรียนสาย จึงตัดสินใจซื้อรถจักรยานมาใช้ สะดวกและเร็วขึ้น สามารถซิกแซ็กไปไหนมาไหนก็ได้ แก้ปัญหาการจราจรภายในมหาวิทยาลัยได้ในระดับหนึ่ง และยังลดปัญหาอุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะที่วิ่งเร็วๆ ได้”

สำหรับ สุนันทา บุญสนอง อายุ 21 ปี เพื่อนสาวคณะเดียวกันเสริมว่า เคยได้ยินอาจารย์ที่สอนมานานเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนจำนวนรถยนต์น้อยมาก แทบไม่มี มีแต่รถจักรยาน ถ้ามีการรณรงค์ให้ใช้จักรยานมากขึ้น ต่อไปคงเป็นภาพที่สวยงาม แนวโน้มการใช้รถจักรยานภายในมหาวิทยาลัย แม้ผู้ใช้จะลดจำนวนลง คิดว่ายังมีกลุ่มอนุรักษ์มองว่าจักรยานเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รณรงค์ให้ยังคงใช้อยู่ไม่สูญหาย
.
.
ผู้ให้การสนับสนุน



- - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - ---
ข่าวและภาพบางส่วน จาก ; ผู้จัดการรายวัน 15 มีนาคม 2548
ที่มา : http://www.manager.co.th/Daily/




สมัครสมาชิก

สมัคร "สมาชิกออนไลน์" ได้ง่าย ดังนี้ครับ

วิธีการสมัครสมาชิก

ให้พิมพ์ ชื่อ - สกุล + คณะ + ชั้นปี

ชื่อเล่น

เบอร์โทร + อีเมลล์

แล้ว พิมพ์คำว่า "สมัครสมาชิก"

โดยพิมพ์ลง ในช่อง "แสดงความคิดเห็น " จะอยู่ด้านล่างของข้อความคิดเห็นของน้อง ๆ ครับ เวลาจะคลิ๊กส่งให้คลิ๊กเลือก ไม่ระบุชื่อนะครับ


(ปล. ถ้าสะดวกไปรับใบสมัครด้วยตนเอง : รับใบสมัครและส่ง พร้อมแนบสำเนาบัตรนักศึกษา ได้ที่ บอร์ดประชาสัมพันธ์ชมรม ชั้น 1 ตึก SC 08

ตึกวิทย์หลังใหม่ หลังสำนักวิทยบริการ ตรงข้ามตึกคณะเกษตรศาตร์ ติดลานหินอ่อน ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

สงสัย ติดต่อ พี่โก้ 084-6524890 ครับ
.
.
ผู้ให้การสนับสนุน
ศุนย์จำหน่ายรถจักรยาน PMB ข้างปั้ม ปตท. มข.
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

วันเสาร์, มิถุนายน 21, 2551

ภาพกิจกรรม

แนะนำชมรมกับน้อง ๆ คณะวิทยาศาสตร์

............

..........

ชมรมจักรยาน "รวมใจ ปลูกกัลปพฤกษ์ คลายโลกร้อน "

วันอาทิตย์ที่ 6 ก.ค. 2551 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

..........

..........

..........

..........

..........

..........

ปั่นจักรยานชมนกในมอครับ

..........

ปั่นจักรยาน รณรงค์เชิญชวนให้นักศึกษาใช้จักรยานครับ

วันศุกร์, มิถุนายน 20, 2551

โครงการจักรยานเช่า - ซื้อ (ผ่อน-จ่าย) ด่วน

นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นท่านใด สนใจที่จะเช่าซื้อจักรยานใหม่ ในราคาพิเศษ สามารถแสดงความประสงค์ได้ที่ ชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามที่อยู่และเบอร์โทรที่ปรากฎด้านซ้ายมือ

ท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกชมรมของเรา
1.สามารถซื้อจักรยานได้ในราคาถูกลงจากราคาปกติ รับส่วนลด 10 - 30 %
2.สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด โดยใช้เครดิตของชมรม
3.สามารถเข้าร่วมกิจกรรม bike rally ในช่วงเดือนธันวาคม ฟรี
4.สามารถเข้าร่วมกิจกรรม bird and bike "ปั่นจักรยาน ชมนกในมอ"
5.สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทางชมรมจัดขึ้น ฟรี
6.สามารถเช่าจักรยานขี่เป็นรายภาคการศึกษา ในราคาพิเศษ

ท่านใดที่สนใจ สามารถแจ้งความประสงค์ ได้ทันที โดยการ คลิ๊ก แสดงความคิดเห็น แล้วพิมพ์ ชื่อ - สกุล คณะ รหัสนักศึกษา เบอร์โทรศัพท์และอีเมลล์ แล้วแจ้งด้วยว่า ต้องการเช่า หรือต้องการซื้อ แบบผ่อนจ่าย
(ปล. เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะ post ให้คลิ๊กเลือก "ไม่ระบุชื่อ" แล้ว post ได้เลยครับ)

อาจารย์ที่ปรึกษาของชมรม

1.นางเพ็ญประพา เพชระบูรณิน
เป็นข้าราชการพลเรือน / พนักงานในมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ระดับ 8 สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 043 – 342 912
มือถือ 081-2614977



2.นางสาววิรงรอง มงคลธรรม
เป็นข้าราชการพลเรือน / พนักงานในมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์

ระดับ 5 สังกัด คณะวิทยาศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 043 – 342 912


นอกจากนี้แล้ว ต้องขอขอบคุณ พี่ ๆ ทีมงาน "องค์การนักศึกษา" ทุก ๆ คนที่ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ขอขอบคุณ "พี่โจ๊ก" ประธานฝ่ายกีฬา องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ "พี่แสน " อดีตนายกสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ปัจจุบันทำหน้าที่ อุปนายกฝ่ายบริหาร องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ "พี่ ๆ งานกีฬา" ที่ใจดี ทุก ๆ คน ขอขอบคุณ "เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทุก ๆ คน" ที่ให้ช่วยผลักดันให้มีชมรมนี้เกิดขึ้นมาได้ ขอขอบคุณ "พี่แฟร์ " สาวน้อยคนเก่ง ที่ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้ ขอบขอคุณเพื่อน ๆ ทุกคน ที่ช่วยกันก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ขอบคุณครับ



หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งชมรม

จากการที่ โลกกำลังขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง จนทำให้ราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ และนักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ที่สามารถทำได้ในขณะนี้ ก็คือ การลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง การเสริมสร้างหรือจัดหาพลังงานทดแทน การปลูกพืชพลังงานเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน
ในฐานะมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมควรเห็นที่จะหาแนวทางในการประหยัดพลังงาน หรือช่วยรณรงค์ให้นักศึกษา พนักงาน บุคลากรของมหาวิทยาลัย ใช้รถจักรยานเป็นพาหนะในการขับขี่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษให้ลดน้อยลง โดยการรณรงค์ให้มีการปั่นจักรยาน ให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกาย เป็นการพักผ่อน การผ่อนคลายความเครียดที่ดีด้วย ดังนั้นสมาชิกผู้สนใจในเรื่องการออกกำลังกายและตระหนักในการประหยัดพลังงาน โดยการหันมาใช้รถจักรยาน ซึ่งมีทั้งนักศึกษา อาจารย์ ข้าราชการในมหาวิทยาลัย จึงเห็นว่าการดำเนินการจัดตั้งชมรมจักรยาน น่าจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพในด้านร่างกาย จิต วิญญาณ ให้กับสมาชิกในชมรม ที่ชอบในการปั่นจักรยาน และเป็นการช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงอีกแนวทางหนึ่ง
ดังนั้นจึงเห็นสมควรขอจัดตั้งชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการ ดูแล เรื่องการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง การรณรงค์ให้นักศึกษาใช้รถจักรยาน การเสริมสร้างสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน ตลอดทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมจักรยานด้วย ทั้งนี้คณะผู้ขอจัดตั้งชมรม มีเจตนาและความตั้งใจ ในการปฏิบัติงานหน้าที่ของชมรม ให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และจะบริหารชมรมให้มีประสิทธิภาพสืบต่อไป